top of page
Search
  • Writer's pictureinteractive2019

นางรำ : นางฟ้าหน้าโบสถ์

Updated: Sep 22, 2018



งานบุญหรืองานรื่นเริงที่สำคัญในหลายพื้นที่ของจังหวัดภาคใต้ เช่น งานแห่ผ้าป่า กฐิน งานบวช ฯลฯ มักนิยมใช้ขบวนกลองยาวแห่แหนเอาฤกษ์เอาชัย สร้างความสนุกสนาน

กลองยาว จะใช้นางรำร่ายรำไปตามจังหวะดนตรีทำนองเพลงพื้นบ้าน บางคณะอาจนำหุ่นขนาดใหญ่มาประกอบ ซึ่งแลดูมีสีสันและแปลกตา

" นางฟ้าหน้าโบสถ์" เป็นกุศโลบายที่คนเฒ่าคนแก่มักบอกกล่าว เชิญชวน ให้ลูกหลานที่ไปร่วมงานบุญ ได้ร่ายรำไปตามทำนองเพลง โดยบอกว่า ถ้าใครเข้าร่วมร้องรำทำเพลง แห่แหนไปกับขบวนกลองยาวรอบอุโบสถ ก็จะเปรียบเสมือนนางฟ้า นางสวรรค์ ในสมัยพุทธกาล ได้กุศลผลบุญมากมายใหญ่หลวง

ปัจจุบัน คณะกลองยาว จะมีการฝึกซ้อม คิดท่ารำแบบต่างๆ ได้อย่างลงตัวและสวยงาม


“กลองยาว” มีผู้สันนิษฐานว่า มาจาก “การเล่นเถิดเทิง” ของพม่า ที่นิยมเล่นกันมาเมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่นต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง

อีกความกล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้ มีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4

กล่าวคือ มีพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาในสมัยนั้น เห็นได้จากการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี ตอน เก้าทัพ คือ เพลงกราวรำพม่า ร้องกันว่า

ทุงเล ทุงเล ทีนี้จะเห่พม่าใหม่ ตกมาอยู่เมืองไทยเป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว (ซ้ำ)

ตีว่องตีไวตีได้จังหวะ ทีนี้จะกะเป็นเพลง กราว (ซ้ำ) เลื่องชื่ออื้อฉาวตีกลองยาวสลัดได (ซ้ำ)

สร้อย ทุงเล ทุงเล ทุงเล กระทุงยะเกรชวยแว (ซ้ำ) เฮ เฮ เฮ เห่ ............. ซอวะแมชวยมอง ซอ ซอ

วะแม ฃวยมอง เล เล เล เล้ และเหล่เล เล เล เหละเลเละ เละ เลเลเลเล

สันนิษฐานว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ ก็จะได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาว

กลองยาว หรือ “การเล่นเถิดเทิง” เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในทุกหนแห่ง จนตราบทุกวันนี้

36 views0 comments
bottom of page